วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่15 11/3/12

สอบสอนทุกคนเตรียมตัวมาดีจนกระทั่งมาถึงฉันวิธีการสอนชองฉันคือ ให้เด็กออกมาปอกกล้วย หั่น เสียบกล้วยใส่ไม้ ให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วย ว่าเวลาที่กล้วยดิบ กับกล้วยที่ปอกแล้วแตกต่างกันอย่างไร เสร็จ อาจารย์คอมเมนว่า เราควรจะต้องมีคำคล้องจอง และถามถึงเนื้อหาในคำคล้องจอง และถามเพื่อดึงประสบการณ์ จากนั้นให้ครูสสาธิตวิธีการทำ และให้เด็กแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มล่ะ10คน3กลุ่ม และให้เด็กๆลองทำดู ครูสรุปกิจกรรม ในวันนี้ทุกกลุ่มมีข้อบกพร่องอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ

ครั้งที่ 14 6/3/12

อาจารย์นัดวันมาสอบสอน วันที่11 มีนาคม 2555 โดยที่ใครเตรียมจะมาสอนในวันนี้ อาจารย์ก็ได้ขอดูสื่อ เช่นคำคล้องจองมีตรงไหนบกพร่อง อาจารย์ก็จะแนะนำ อาจารย์ให้เราเอาเอกสารเกี่นวกับคู่มือทางคณิตศาสตร์ไปถ่ายเอกสาร เพราะว่ามันมีประโยชน์กับเรา

ครั้งที่13 28/2/12

ไม่ได้มาเรียน

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ครั้งที่12 21/2/12

อาจารย์ให้เราเขียนว่าแผนที่เราสอนต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง และอาจารย์ก็คุยกับกลุ่มเพื่อนที่ยังไม่ได้พบอาจารย์

ครั้งที่11 16/2/12

อาจารย์ได้นัดสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องแผน กลุ่มฉันได้เข้าไปพบอาจารย์เป็นกลุ่มแรก อาจารย์ได้ชี้แจงและปรับแก้ให้จนเรียบร้อย กลุ่มของดิฉันเสร็จก็เป็นคิวของเพื่อนๆ ต่อกันมา จนครบหมดทุกกลุ่ม

ครั้งที่10/ 14/2/12

อาจารย์พูดถึงเกี่ยวกับการเขียนแผนจัดประสบการณ์ ว่าควรจะเขียนอย่างไร ต้องยึดอะไรบ้าง อาจารย์บอกว่าเราต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทต่างๆ
เช่น ถ้าเราสอนเรื่องต้น สอนในที่ที่ต่างกัน วิธีการก็จะต่างกัน อาจารย์ให้หันหน้าเข้ากลุ่มดพื่อคุยเกี่ยวกับเรื่องแผนการจัดประสบการณ์ อาจารย์ถามถึงการแตกแม็ปเพื่ออะไรเพื่อรู้ถึงว่าเด็กจะได้อะไรบ้าง หัวใจของการจัดประสบการณ์คือสติปัญญา เป็นเนื้อหาสาระ ภาษา คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ วัตถุหระสงค์ต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา ประสบการณ์สำคัญ คือสิ่งที่เด็กลงมือกระทำ อาจารย์ก็ได้เอาแผนของเพื่อนกลุ่มนึงมายกตัวอย่างให้ดู อาจารย์ให้พวกเราช่วยกันเสนอความคิดในการปรับแก้แผนของเพื่อน สรุปว่าวันนั้นสรุปไปหนึ่งแผน กลุ่มอื่นอาจรย์นัดสอนเพิ่มเติมในวันพฤหัสบดี

ครั้งที่ 9 7/2/12

ขาดเรียน

ครั้งที่8 31/1/12

หลักสตูร คือ แนวทางการจัดประสบการณ์ ประสบการณ์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีทั้งครูวางแผน หรือ สิ่งที่เด็กอยากรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4ด้าน
สาระที่ควรรู้มี 4 เรื่องใหญ่
1.คิดเชิงเหตุผล
2.คิดเชิงสร้างสรรค์
3.การเรียนรู้
4.การรับรู้
อาจารย์ก็ให้เอาแผนของคนที่เขียนมาแล้ว เอาขึ้นมาวัดกับ ส.ส.ว.ท มาเปรียบเทียบว่าเราเขียนมาได้ถูกต้องบ้างไหม อาจารย์ก็สั่งงานให้เขียนมาอีกแผนนึง โดยยึด ส.ส.ว.ท มาส่งอังคารหน้า

ครั้งที่7 24/1/12

อาจารย์พูดถึงการไปสังเกต พูดถึงว่าเราไปควรปฏิบัติตนอย่างไร พูดถึงว่าโรงเรียนที่ไปได้อะไรบ้าง อาจารย์ถามว่าถ้าเด็กทานนมช้ามีวิธีแก้ อย่างไร เด็กไม่ยอมทานผัก ทานแต่ขนมขบเขี้ยวมีวิธีแก้อย่างไร พูดถึงว่าทำไมเด็กถึงไม่ชอบกินผักเพราะ มีกลิ่นแรง ขม ผักไม่หวานเหมือนขนม1.เปลี่ยนแปลงทัศนะคติ เช่น นิทาน เพลง 2. ใช้วรรณกรรม 3.การประดิษฐ์ 4.ปลูกผักเอง 5.ทำผักชุบแป้งทอด อาจารย์สั่งงานและให้ไปสมัครโทรทัศน์ครู

คั้งที่6 17/1/12

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากไปปฏิบัติวิชาชีพครู1

ครั้งที่5 10/1/12

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากไปปฏิบัติวิชาชีพครู1

ครั้งที่4 27/12/11

อาจารย์พูดถึงการทำบล็อกที่ถูกต้องอาจารย์ว่าให้เราเขียนเกี่ยวกับบรรยากาศในห้อง ( อาจารย์ยังบอกอีกว่า บล็อกนี้จะเป็นบล็กสุดท้ายอยากให้พวกเราตั้งใจ) อาจารย์พูดถึงการแตกแม็ปของแต่ละกลุ่มอาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องไข่ อาจารย์ให้หัดวิเคราะห์อาจารย์ให้เขียนแบบบรูณาการคณิตศาสตร์,ภาษา,วิทยาศสตร์,ความคิดสร้างสรรค์,คุณธรรมจริยธรรม, ร่างกาย, อารมณ์-จิตใจ,สังคม,สติปัญญา อาจารย์ให้นั่งทำงานกันในห้อง ปรึกษากกันภายในกลุ่ม

ครั้งที่3 20/12/11

อาจารย์พูดทบทวนเกี่ยวกับคณิตศาตร์ พูดถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือแต่ที่ขาดไม่ได้คือภาษาอาจารย์เข้า google พิมพ์นักการศึกษาปฐมวัย พิมพ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ยกตัวอย่างเรียงลำดับส่วนประกอบของคณิตศสตร์ว่าเราควรจะสอนสิ่งไหนก่อน แบ่งได้ดังนี้ 1.การรู้จักตัวเลข 2.รูปร่าง/รูปทรง 3.การนับ 4.ชั่ง/ตวง/วัด 5.เพิ่มและลดจำนวน 6.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข 7.จำแนกประเภท 8.การจัดหมวดหมู่ 9.การเปรียบเทียบ 10.การเรียงลำดับ 11.เวลา/พื้นที่ อาจารสั่งให้จับกลุ่ม5คน ให้เลือกเรื่องให้เหมาะสม แตกเนื้อหา ให้วางแผนว่าเนื้อหาไหนควรจะอยู่วันไหน

ครั้งที่2 13/12/11

อาจารย์พูดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ อาจารย์ถามว่าอาจารย์ถามว่าเวลาที่เราเดินมาเรียนเราใช้เครื่องมือใดบ้าง ทุกคนในห้องช่วยกันตอบ อาจารย์ถามอีกว่า ในห้องเรียนสิ่งใดเป็นคณิตศาสตร์ อาจารย์พูดถึงมาตราฐานของคณิตศาสตร์ คณิตศสตร์เป็นเครื่องมือ
เกณฑ์ เป็นการที่เด็กจะได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การนับจำนวนการเปรียบเทียบตัวเลข เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเด็กต้องการอะไร เพื่อที่เราจะได้จัดการเรียนการสอนอย่างถูกต้อง

ครั้งที่1 6/12/11

ไม่ได้มาเรียน